โอโซน

โอโซน

สมบัติทั่วไป

ชื่อตามระบบ

ไตรออกซิเจน

สูตรโมเลกุล

O3

มวลโมเลกุล

47.998 g/mol

ลักษณะภายนอก

แก๊สสีน้ำเงิน

เลขทะเบียน CAS

[10028-15-6]

สมบัติทางเคมี

ความหนาแน่น และสถานะที่อุณหภูมิห้อง

2.144 g/l (0 °C) , แก๊ส

ความสามารถในการละลายในน้ำ

0.105 g/100 ml (0 °C)

จุดหลอมเหลว

80.7 K, −192.5 °C

จุดเดือด

161.3 K, −111.9 °C

พิษภัย

EU classification

ไม่ได้ระบุ

NFPA 704

 

เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น ข้อมูลที่ให้ไว้นี้เป็น
ข้อมูลของสาร ณ ภาวะมาตรฐาน ที่25 °C, 100 kPa

ก๊าซโอโซนคืออะไร..?
โอโซนเป็นก๊าซที่ถือกำเนิดขึ้นมาโดยธรรมชาติ เช่นจาก ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า แสงจากดวงอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่งเราจะสังเกตได้ง่ายๆว่า หลังจากที่ฝนตก อากาศจะสดชื่นขึ้น มลพิษในอากาศจะลดลง เป็นผลสืบเนื่องมาจากมีปริมาณโอโซนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
ในปัจจุบัน การจราจรที่มีความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้มีปัญหามลพิษในอากาศที่สูงขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฯลฯ รวมไปถึงเชื้อโรค และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ มลพิษเหล่านี้สามารถเล็ดรอดเข้ามาในรถคุณได้อย่างง่ายดาย และสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งปริมาณอ๊อกซิเจนในรถคุณก็ลดลน้อยลงเรื่อยๆเช่นกันสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ขับขี่ เกิดอาการง่วงซึม เหนื่อยง่าย มึนศรีษะ ภูมิแพ้ ฯลฯ และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในที่สุด 
ประโยชน์ของโอโซน 
โอโซนเป็นก๊าซธรรมชาติรูปแบบหนึ่งของออกซิเจนที่ไม่เสถียร แต่มีพลังงานในการทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นสูง และเมื่อทำปฏิกิริยาแล้วจะไม่เหลือสารพิษตกค้างใดๆนอกจากออกซิเจน จึงมีการนำโอโซนไปใช้อย่างแพร่หลายทั้งในครัวเรือน สำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรมฯลฯ โอโซนยังมีฤทธิ์ ดังนี้

  1. ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ อาทิต

1.1 ทำลายเชื้อแบคทีเรีย (ทำให้เกิดโรคและกลิ่นเหม็น) 
1.2 ทำลายเชื้อรา 
1.3 ทำลายเชื้อไวรัส 
มีประสิทธิภาพการทำลายเชื้อโรคดังกล่าวได้ดีที่สุด และรวดเร็วที่สุด โดยเร็วกว่าคลอรีนได้สูงถึง 50,000 เท่า ทำลายกลิ่น สารเคมี และแก๊ซพิษได้ดีเยี่ยม ไม่ทิ้งพิษตกค้าง เพราะเมื่อทำปฏิกิริยากับมลพิษเสร็จทุกครั้งจะได้ออกซิเจน (O2) จึงเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี

  1. เพิ่มปริมาณออกซิเจนในอากาศ โดยออกซิเจนจะมาแทนที่หลังจากที่โอโซนสลายไป
  2. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
  3. ควบคุมมลพิษ
  4. กำจัดกลิ่นอับ และกลิ่นอื่นๆ
  5. กำจัดกลิ่นสี
  6. ลดปริมาณโลหะหนัก  เช่น โคบอลท์ (Cobalt-Co) ทองแดง (Copper-Cu) แมงกานีส (Manganese-Mn) โมลิบดีนัม (Molybdenum-Mo) แวแนเดียม (Vanadium-V) และสังกะสี (Zin-Zn)  ซึ่งเป็นโลหะหนักที่แบคทีเรียต้องการ และโลหะหนักที่เป็นภัยต่อชีวิตมนุษย์ เช่น ปรอท และแคดเมี่ยม

โอโซน ได้ถูกนำไปใช้งานอะไรบ้าง?
°  ใช้ในครัวเรือน เช่น ใช้ล้างผัก ผลไม้ และล้างอาหารสด ขจัดสารพิษ ยาฆ่าแมลง และเชื้อโรค 
°  ใช้ประกอบกับเครื่องกรองน้ำทำน้ำดื่ม 
°  ใช้ขจัดกลิ่นอับเหม็นตกค้างตามห้องต่างๆ
°  ใช้ในรถยนต์ เพื่อปรับสภาพอากาศกลิ่นอับชื้นในห้องโดยสารรถยนต์
°  ใช้ในวงการแพทย์ เช่น ใช้ฆ่าเชื้อในห้องผ่าตัดหรือห้องผู้ป่วย
°  ใช้กับระบบน้ำดื่มเพื่อการพาณิชย์ และระบบน้ำดื่มชุมชนทั่วไป
°  ใช้บำบัดน้ำเสียเพื่อการขจัดสารเคมี สารแขวนลอย ฟอกสี โลหะหนัก และเชื้อโรคในขั้นตอนสุดท้าย
°  ใช้ในขบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น บ่อปลา บ่อเพาะฟักลูกกุ้ง และบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
°  ใช้บำบัดน้ำในสระว่ายน้ำ เพื่อแทนคลอรีนขจัดสารปนเปื้อนและเชื้อโรค
°  ใช้ในระบบน้ำของหอระบายความร้อน เพื่อควบคุมตะไคร่น้ำ การเกิดตะกรัน และลดการกัดกร่อน
°  ใช้ขจัดกลิ่นเหม็นต่างๆ ในอุตสาหกรรมและชุมชน เช่น โรงงานอาหารสัตว์ และกลิ่นจากน้ำเสีย
°  ใช้ในขบวนการล้างอาหารสดก่อนการแช่แข็งเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อนและเชื้อโรค
°  ใช้ดับกลิ่น และฆ่าเชื้อโรคในสถานบริการต่างๆ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล อาบอบนวด °  ใช้ในขบวนการซักผ้า ซึ่งทำให้ลดค่าใช้จ่ายการใช้ผงซักฟอก และยังช่วยฆ่าเชื้อได้ดีด้วย
°  ใช้ขจัดกลิ่นหมึกพิมพ์ และกลิ่นทินเนอร์ตามโรงพิมพ์ และห้องพ่นสีรถยนต์
°  ใช้ขจัดก๊าซไอเสียรถยนต์ตามที่จอดรถใต้อาคารสูง 
โอโซน อยู่ได้นานเท่าไร... 
หลังจากที่โอโซนจับตัว และออกจากเครื่องผลิตโอโซนไปกระจายอยู่ภายในห้อง โอโซน จะเปลี่ยนสภาพกลับมาเป็นออกซิเจน(O2) ทันที โดยขั้นตอนต่างๆ เนื่องจากว่าโอโซนเป็นสารเคมีที่มีลักษณะไม่มั่นคง ซึ่งจะทำให้เพิ่มแรงในขั้นตอนการทำปฏิกิริยาจากออกไซด์กับตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่น สะสารต่างๆ จะถูกย้ายโดยโอโซน โอโซนจะเปลี่ยนเป็นออกซิเจน [O2] ภายใน 30 นาที ด้วยจำนวนที่เท่ากับครึ่งหนึ่งของระดับของตัวมันเองหมายความว่าภายในระยะเวลา 30 นาที จะมีส่วนที่เหลือเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เป็นหลักการเดียวกันกับเราขาคณิตที่ลดจำนวนทีละครึ่ง เช่น 16,8,4,2,1 ในทางปฏิบัติครึ่งหนึ่งของวงจรของ โอโซน มักจะน้อยกว่า 30 นาทีของแบคทีเรียและสิ่งที่มีชีวิตอื่นๆ ในอากาศ แต่ในขณะเดียวกัน โอโซน ก็มีพลังงานพอที่จะทำให้งานที่มันปฏิบัติอยู่สำเร็จลุล่วงได้ 
โอโซน (Ozone หรือ O3) เป็นโมเลกุลที่ประกอบจากออกซิเจน 3 อะตอม ปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก และมีการใช้งานในทางอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ตามบ้านทั่วไป โอโซนถูกค้นพบครั้งแรกโดย คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) นักเคมีชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1840 โดยตั้งชื่อตามภาษากรีกคำว่า ozein ซึ่งแปลว่ากลิ่น
โอโซนเข้มข้นมีสีฟ้าที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure; STP) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง -112 °C โอโซนจะเป็นเป็นของเหลวสีน้ำเงิน และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่า -193 °C ก็จะกลายเป็นของแข็งสีดำ
เรานำโอโซนไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเคมีภัณฑ์ นำไปใช้เป็นสารซักฟอก ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ฯลฯ
โอโซนในทางเคมี
แก๊สโอโซนเป็นตัวออกซิไดส์ที่ดีมาก และในขณะเดียวกันก็เป็นสารที่ไม่อยู่ตัว มักจะสลายเป็นแก๊สออกซิเจนได้ง่าย ดังสมการ
2 O3 → 3 O2 
ถ้าเราเพิ่มอุณหภูมิและลดความดัน ปฏิกิริยาข้างต้นจะไปข้างหน้าได้เร็วมาก โดยปกติโอโซนมักออกซิไดส์โลหะ (ยกเว้นทองคำแพลทินัม และแพลเลเดียม) ให้มีเลขออกซิเดชันสูงขึ้น 
ตารางที่  1   ผลกระทบต่อสุขภาพและค่าความปลอดภัยมาตรฐานของโอโซน

ผลกระทบต่อสุขภาพ
Health Effects

ปัจจัยเสี่ยง 
Risk Factors

ค่ากำหนดมาตรฐาน
Health Standards

   ผู้ที่ได้รับอาจจะได้ประสบการณ์ดังต่อไปนี้:
 • ปอดมีประสิทธิภาพน้อยลง  
 • มีปัญหาหอบหืด 
 • ระคายเคืองคอ  ไอ  
 • เจ็บหน้าอกหายใจไม่ออก  
 • ปอดอักเสบ  
 • ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ       

ปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยง ความรุนแรงของสุขภาพมีต่อไปนี้:   
• ปริมาณของโอโซนในอากาศเข้มข้นมากขึ้น  
• สัมผัสโอโซนเป็นเวลายาวนานขึ้น  เพิ่มปัญหาสุขภาพมากขึ้น  
• ออกกำลังกายในที่ที่มีโอโซนปริมาณมาก  
• มีปัญหาโรคปอด  เช่นโรคหอบหืดอยู่แล้ว

      FDA หรือ อย. แห่งสหรัฐอเมริกา  ได้กำหนดว่าเครื่องผลิตโอโซนไม่ควรผลิตโอโซนเกิน 0.05 ppm.  (ส่วนในล้านส่วน)  สำหรับใช้ภายในอาคาร 
      OSHA หรือ  (Occupational Safety and Health Administration)  ตั้งข้อกำหนดว่า  ไม่ควรทำงานในบริเวณที่มีความเข้มข้นของโอโซนเกิน  0.10 ppm.  เกินกว่า  8 ชั่วโมง  
      สถาบัน  NIOSH  หรือ  (National Institute of Occupational Safety and Health)  ตั้งข้อกำหนดว่า  ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีโอโซนเกิน 0.10 ppm.  ไม่ว่ากรณีใด 
      สำนักงาน  EPA  หรือ (Environmental Protection Agency)  ตั้งข้อกำหนดว่า  ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีโอโซนถึง 0.08  ppm.  เกิน 8 ชั่วโม

โฮมคลีน,homeclean,บ้านสะอาด,ทำความสะอาดขอนแก่น, บริษัทรับทำความสะอาด,แม่บ้านขอนแก่น,จ้างทำความสะอาด, รับเหมาก่อสร้าง ,รับเหมาก่อสร้างขอนแก่น,รับสร้างบ้านขอนแก่น,รับเหมาก่อสร้างบ้านขอนแก่น,รับสร้างบ้าน, ทำความสะอาด, แม่บ้าน, ซักพรม ซักผ้าม่าน,เช็ดกระจกอาคารสูงขอนแก่น, ทำความสะอาดพื้น,จ้างแม่บ้านขอนแก่น,แม่บ้านประจำ,จำหน่ายน้ำยาทำความสะอาด,ทำความสะอาดขอนแก่น,จ้างทำความสะอาด,จ้างทำความสะอาดขอนแก่น,โฮมคลีนขอนแก่น,โฮมคลีนเมเนเจอร์,Homeclean,บริการทำความสะอาด,Homeclaenmanager,ขอนแก่นโฮมคลีน,จ้างทำความสะอาดบ้านขอนแก่น,ทำความสะอาดบ้าน,ทำความสะอาดสำนักงาน,ทำความสะอาด Office,ทำพื้นหินขัดขอนแก่น,ทำพื้นทรายล้างขอนแก่น,ทำพื้นหินขัด,ทำพื้นทรายล้าง,ปูกระเบื้องขอนแก่น,ปูกระเบื้อง,ขัดล้างพื้นขอนแก่น,ขัดล้าง,เคลือบเงาพื้นขอนแก่น,เคลือบเงาพื้น,ลงwaxขอนแก่น,ลงwax,ลงแว็กซ์เคลื่อบเงาพื้นขอนแก่น,
บริการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ,บริการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อขอนแก่น,ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19,ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19ขอนแก่น,บริการอบโอโซนฆ่าเชื้อ,อบโอโซนฆ่าเชื้อ,อบโอโซนฆ่าเชื้อขอนแก่น,อบโอโซนฆ่าเชื้อโควิด,อบโอโซนฆ่าเชื้อโควิด-19ขอนแก่น,บริการสตรีมไอน้ำความร้อนสูงฆ่าเชื้อ,สตรีมไอน้ำความร้อนสูงฆ่าเชื้อ,บริการสตรีมไอน้ำความร้อนสูงฆ่าเชื้อขอนแก่น,บริการดูดกำจัดไรฝุ่น,บริการดูดกำจัดไรฝุ่นขอนแก่น,ดูดกำจัดไรฝุ่นในพื้นที่ขอนแก่น ,บริการบิ๊กคลีนบ้านหลังน้ำท่วม ,รับทำความสะอาดบ้านหลังน้ำท่วม ,รับทำความสะอาดบ้านหลังน้ำท่วมขอนแก่น